2024-06-19 HaiPress
กรมการค้าภายในเผยสถานการณ์ผลผลิตไก่ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หลังจากสภาพอากาศแปรปรวน จนทำไก่โตช้า น้ำหนักลด ย้ำผู้บริโภคไม่ต้องกังวล ว่าจะมีการส่งออกมากจนผลผลิตในประเทศขาด กำชับผู้ส่งออกสัดสรรสัดส่วนการจำหน่ายแล้ว
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า สาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อไก่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.2567 ที่ผ่านมา เพราะเป็นช่วงอากาศร้อนและแล้งจัด ส่งผลให้ไก่โตช้า น้ำหนักลดลง และต้องเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงอีก 3-5 วัน ทำให้ผู้เลี้ยงมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น 6% จากต้นปี ผู้ประกอบการจึงมีการปรับขึ้นราคาให้สอดคล้อง แต่ปัญหานี้ กรมได้เข้าไปแก้ไขแล้ว โดยประชุมหารือร่วมกับผู้เลี้ยง ผู้ผลิต และผู้ส่งออก ได้รับการยืนยันว่า ขณะนี้สถานการณ์ผลผลิตไก่ เริ่มจะเข้าสู่ภาวะปกติ จากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ปริมาณผลผลิตมีเพิ่มขึ้น และจากนี้ ราคาเนื้อไก่และชิ้นส่วนไก่จะปรับตัวลดลงอย่างแน่นอน
ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่า จะมีการส่งออกมาก และกระทบต่อผลผลิตไก่ในประเทศ กรมได้เชิญผู้ผลิตและผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ ประกอบด้วย บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จํากัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) บริษัท ไทยฟู้ดส์ จํากัด (มหาชน) บริษัท จีเอฟพีที จํากัด (มหาชน) บริษัท สหฟาร์ม จํากัด บริษัท โกลเด้น ไลน์บิสซิเนส จํากัด และ บริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด มาหารือถึงสถานการณ์การผลิต การค้าเนื้อไก่ และการจัดสรรสัดส่วนการจำหน่ายไม่ให้กระทบต่อราคาเนื้อไก่ภายในประเทศ โดยผลการหารือ ผู้ส่งออกทุกรายรับปากจัดสรรสัดส่วนการจำหน่ายในประเทศอย่างเต็มที่ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาไก่และชิ้นส่วนไก่ในประเทศ
ทั้งนี้ กรมได้กำชับให้ผู้ส่งออกดำเนินการตามที่ได้ตกลงกันไว้ และพิจารณาการส่งออกให้อยู่ในระดับเหมาะสม อย่าให้เกิดผลกระทบต่อราคาในประเทศ และกระทบต่อผู้บริโภค เพราะหากมีการส่งออกมากจนเกินไป จนผลผลิตในประเทศขาดแคลน กรมอาจจำเป็นต้องกำหนดมาตรการดูแลการส่งออกที่เข้มข้นเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมได้ประสานห้างค้าส่งค้าปลีก เข้ามาช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยการจัดโปรโมชันลดราคาเนื้อไก่และชิ้นส่วน และยังได้มีการติดตามสถานการณ์การเลี้ยง การค้าไก่ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ทั้งผู้เลี้ยงจนถึงห้างค้าส่งค้าปลีกทุกวัน เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านราคา เพื่อกำกับดูแลให้ราคาอยู่ในโครงสร้างทุกราย รวมทั้งได้ติดตามสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
12-20
12-20
12-20
12-20
12-20
12-20
12-20
12-20
12-20
12-20