โรงงานสมุนไพรเสี่ยงปิดตัว 500 แห่ง วอนรัฐหาทางช่วยให้ได้มาตรฐาน

2024-07-25 HaiPress

กลุ่มสมุนไพร ส.อ.ท. ชี้โรงงานสมุนไพรเสี่ยงปิดตัว 500 แห่ง ชูแนวทางแก้ไขรัฐช่วยหนุนให้โรงงานได้มาตรฐาน GMP PIC/S หาแหล่งซอฟต์โลน-ดึงท่องเที่ยวหนุน

ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โรงงานในประเทศไทยปิดตัวลงเกือบ 2,000 แห่ง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2567 ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตเกือบ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทำให้แรงงานกว่า 51,500 คน สูญเสียงาน และวิกฤติดังกล่าว มีโอกาสลุกลามไปยังภาคการผลิตในอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย

จากการสำรวจพบว่า อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยปัจจุบัน ยังประคับประครองตัวเองได้อย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการได้ปรับตัวแบบ 360 องศา ทั้งการลงไปจับตลาดใหม่ๆที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ผลพัฒนาแพ็กเกจจิ้งให้มีความโดดเด่นเหมาะแก่การสะสมและเป็นของฝาก

ทั้งนี้ พบว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมภาคสมุนไพรที่มีความเสี่ยงถูกปิดอยู่เช่นกัน โดยพบข้อมูลน่าตกใจว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตสมุนไพรมากกว่า 1,000 แห่ง แต่มีโรงงานผลิตสมุนไพร 500 แห่ง ยังไม่สามารถผ่านมาตรฐาน GMP PIC/S หากโรงงานสมุนไพรเหล่านี้ถูกปิดตัวลง ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการผลักดัน สร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูง สนับสนุนศักยภาพเศรษฐกิจมหาภาคของประเทศ วิกฤติการปิดตัวของโรงงานในประเทศไทย กำลังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและแรงงานอย่างหนัก อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยก็ยากจะรอดพ้นจากวิกฤตนี้ แต่ก็ยังมีโอกาสรอดวิกฤตินี้ไปได้ หากหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน มิฉะนั้นประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสการสร้างฐานเศรษฐกิจมหาภาคไปได้

กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรในสภาอุตสาหกรรม ได้เสนอ แนวทางแก้ไข ดังนี้


1. หน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการอบรม จัดหลักสูตร รวมถึงจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อช่วยให้โรงงานขนาดเล็กมีโอกาสปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน GMP PIC/S


2. หน่วยงานภาครัฐ เป็นตัวกลางในการจับมือระหว่างโรงงานขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน GMP PIC/S ในการให้โรงงานขนาดเล็กเข้าใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการช่วยเหลือไม่ให้รายย่อยต้องลงทุน ห้องแล็บ ที่ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง


3. สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โรงงานสมุนไพรเหล่านี้มีแหล่งความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่น่าสนใจ


4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพิ่ม Positive list เพื่อให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนสมุนไพรง่ายขึ้น

สำหรับมูลค่าตลาดสมุนไพรในปัจจุบัน 52,104.3 ล้านบาท มีแนวโน้มการเติบโต 8% ต่อปี (ข้อมูลล่าสุดจากสภาอุตสาหกรรม) ปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเติบโต มาจากการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรความกังวลด้านสุขภาพ คนเริ่มกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาเคมี จึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น สังคมสูงวัยและประชากรโลกมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ มากขึ้น

ผู้คนจึงมองหาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาช่วยดูแลสุขภาพและป้องกันโรค กระแสการกลับสู่ธรรมชาติผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมากขึ้น จึงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพร หากทุกฝ่ายร่วมมือกันผลักดันให้การผลิตเป็นมาตรการเดียวกัน จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสามารถส่งออกได้มากกว่าปัจจุบันหลายเท่า

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

หุ้นไทยปิดบวก 23.36 จุด

09-07

ธอส.เปิดขายสลากชุดวิมานเมฆ Plus หน่วยละ 1 ล้าน 17 ก.ย.นี้ ดอกเบี้ยสูง 1.70%

09-07

PSPC จ่อเรียกหน่วยงานแจงปม ‘ถุงขนมเบื้องงานวัด’ ระบุข้อมูลผู้ป่วย-การจ่ายยา

09-07

ธ.ก.ส. จับมือเครือข่ายธนาคารต้นไม้ ชุมพร ลุยซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต

09-07

เปิดเหตุผลทำไมทองคำร่วง 4 วันติด ต่ำสุดรอบ 5 เดือน

09-07

ราคาทองวันนี้ 7 ก.ย.67 ลดลง 50 บาท

09-07

‘แอตต้า’ ยกทัพ บ.ท่องเที่ยวไทย โรดโชว์ ‘กว่างโจว-ปักกิ่ง’ ททท.คาดปี 68 จีนแตะ 8.8 ล้าน

09-07

เปิด 10 หุ้นเด่น ดันวอลุ่มเทรดวันนี้ทะลุ 1 แสนล้านบาท

09-07

5 ยักษ์ค้าปลีกแข่งเดือด! อัดแคมเปญเร่งขายฝ่าวิกฤติกำลังซื้อหด

09-07

ธอส.พร้อมช่วยลูกค้าประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ

09-07

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap