2024-08-09 HaiPress
ซันโทรี่ฯ ลงนาม ม.ธรรมศาสตร์ เตรียมพร้อมนักศึกษาสู่โลกการทำงานจริง
น.ส.ณัฏฐณิชา วรวรรณเศรษฐ์ รองประธานอาวุโสฝ่ายสนับสนุนการบริหารงานในองค์กร ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทยและอินโดไชน่า เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมมือทางวิชาการในการยกระดับคุณภาพหลักสูตรการศึกษาด้านพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในระดับอุดมศึกษาระยะ 3 ปี ในการส่งเสริมความสามารถของสถาบันการศึกษาในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและพร้อมเข้าสู่โลกแห่งการทำงานจริง ผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ โครงการฝึกงาน ตลอดจนความร่วมมือในโครงการวิชาการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ความท้าทายเชิงธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง
สำหรับการลงนาม MOU ความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อบูรณาการประโยชน์จากความเป็นเลิศด้านวิชาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ากับความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพทางธุรกิจของ ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) ผู้นำในธุรกิจด้านอาหารเสริมสุขภาพของเอเชีย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างเสริมทักษะเชิงปฏิบัติและประสบการณ์เชิงลึกที่ตรงกับความต้องการจริงของโลกธุรกิจให้กับนักศึกษา ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อยกระดับองค์รวมความรู้ด้านการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
“ปัจจุบันเทรนด์ทางสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น องค์กรชั้นนำขนาดใหญ่จึงต้องการทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะหลากหลายมิติ ทั้งทักษะเชิงเทคนิคเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรง ควบคู่กับทักษะเชิงสังคมที่จำเป็นต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น อาทิ การสื่อสาร ทัศนคติ การทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข โดยทางบริษัทจะรับนักศึกษาในปีการศึกษาที่สองสุดท้าย หรือปีสุดท้ายของการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาฝึกงานเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อสร้างโอกาสให้น้อง ๆ ได้นำองค์ความรู้ในห้องเรียนมาปรับใช้ในการทำงานจริง และเตรียมพร้อมในการก้าวสู่การทำงานในสายอาชีพนี้ในอนาคต”
นายสมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ในเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวนผู้ว่างงาน 3.79 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.9 ลดลง 1.03 แสนคน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่มีจำนวน 4.82 แสนคน โดยมีผู้เรียนจบในระดับอุดมศึกษาเป็นผู้ว่างงานมากที่สุด จำนวน 1.39 แสนคน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนเท่ากันกับระดับระดับ ปวช./ปวส. จำนวน 0.72 แสนคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 0.55 แสนคน
ด้วยการให้ความสำคัญกับการเป็นผู้นำภาคเอกชนที่เป็นส่วนหนึ่งของพลังการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศ บริษัทฯ จึงสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่หลากหลายเพื่อให้การสนับสนุนอย่างรอบด้านและครอบคลุมนักศึกษาในวงกว้าง เช่น การลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเข้าร่วมประชุม the Annual Business Administration Advisory Board Meeting ที่จัดขึ้นโดยภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ที่สร้างเวทีการหารือแผนงานเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้นำภาคการศึกษาและภาคเอกชน ในการร่วมกันออกแบบการศึกษาด้านธุรกิจในอนาคต และสร้างหลักประกันให้หลักสูตรการศึกษาสามารถสร้างบุคลากรที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมผ่านการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI
01-22
01-22
01-22
01-22
01-22
01-22
01-22
01-22
01-22
01-22