ส่องเศรษฐกิจไทยปี 2568 เต็มไปด้วยความท้าทาย จีดีพีอาจโตแค่ 2.4%

2025-02-19 IDOPRESS

ส่องบทวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยปี 2568 หลายแห่งประเมินความเสี่ยงและปัจจัยเศรษฐกิจไว้อย่างน่าสนใจ คาดจีดีพีเติบโต 2.4% จนถึง 2.8% หลังจากสภาพัฒน์ประกาศตัวเลขจีดีพีไทยปี 2567 และแนวโน้มในปี 2568

สำนักวิจัยเศรษฐกิจหลายแห่ง ทยอยแจ้งบทวิเคราะห์ หลังจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2567 เติบโตเพียง 2.5%

“วิจัยกรุงศรี” ระบุว่า เศรษฐกิจไทย หรือ GDP ไตรมาส 4 ปี 2567 เติบโตได้ 3.2% แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 3.9% ในส่วนของทั้งปี 2567 เศรษฐกิจไทยยังเติบโตต่ำที่ 2.5% จาก 2.0% ในปี 2566 ส่วนในปี 2568 สภาพัฒน์ ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไว้ที่ 2.3-3.3% ค่ากลางที่ 2.8%

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 ฟื้นตัวต่ำกว่าคาด และแรงส่งมีสัญญาณอ่อนแอลง สะท้อนจาก 1.การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในระดับเดิมแม้จะมีมาตรการแจกเงินสด แก่กลุ่มเปราะบางกว่า 1.4 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนปีก่อน 2.การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวแม้การลงทุนภาครัฐเติบโตเร่งขึ้น ชี้ถึงการขาด crowding-in effect และ 3.การส่งออกสินค้าแม้ขยายตัวเกินคาด แต่ไม่สามารถช่วยหนุนการลงทุนภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม

สำหรับแนวโน้มปี 2568 วิจัยกรุงศรีเตรียมปรับลดคาดการณ์ GDP ลงจาก 2.9% เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน,มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผลบวกค่อนข้างจำกัด (เฟส 2 วงเงินเพียง 30,000 ล้านบาท และเหลือวงเงินอีก 1.57 แสนล้านบาท สำหรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในปีนี้),จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจไม่เป็นไปตามที่เคยคาดไว้ที่ 40 ล้านคน เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวช้า และหากสหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้า อาจกระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทย

ทั้งนี้ ปัจจัยบั่นทอนและความเสี่ยงข้างต้นเปิดทางให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ และหากไม่มีการปรับดอกเบี้ยในเดือนนี้ ยังมีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดในเดือนเมษายน หลังมีความชัดเจนเรื่องภาษีตอบโต้ของสหรัฐ

“Krungthai COMPASS” ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่มีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้น อาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำกว่า 2.8% หลังสหรัฐเริ่มดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าที่ขยายวงมากขึ้น อาจกระทบโมเมนตัมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกให้ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้เดิม นอกจากนี้ไทยยังเผชิญกับการแข่งขันที่สูงจากจีนทั้งในตลาดส่งออกและในประเทศ และปัญหาการส่งออกที่ขยายตัวไม่ส่งผ่านผลดีไปสู่ภาคการผลิต

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” มองเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยที่ 2.4% โดยการส่งออกไทยในปี 2568 คาดว่าจะเติบโตชะลอลง แม้จะได้รับแรงสนับสนุนบางส่วนจากการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ ประกอบกับวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกสหรัฐ จัดเก็บภาษีในลำดับถัดไป เนื่องจากไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ในระดับสูงและมีการเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ยสูงกว่าสหรัฐ ซึ่งการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ มีแนวโน้มส่งผลให้การส่งออกไปสหรัฐ ลดลง ขณะที่การส่งออกไทยยังไปยังตลาดโลก มีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นและอุปสงค์ที่ลดลง

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

อย่าเพิ่งแวะปั๊ม! พรุ่งนี้ ‘เบนซิน-โซฮอล์’ ลดราคา 30 สต. ส่วน ‘ดีเซล’ คงเดิม

05-23

กยศ.แจงละเอียดยิบ ประเด็นดราม่า ปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้หนี้เพิ่มจริงไหม

05-23

ชาวสวนยิ้มออก ค้าภายใน จับมือ ผู้ประกอบการ รับซื้อมะม่วงโชคอนันต์ ถึงสวน

05-23

พิชัย พาณิชย์ ย้ำสหรัฐ แฮปปี้ข้อเสนอไทย ลุ้นลดภาษีเหลือ 0%-ส่งออกเกินเป้าแน่

05-23

ดัชนีหุ้นลบ 9.33 จุด เกิดแรงเทขายหุ้นที่กระทบหากราคาพลังงานพุ่งขึ้น

05-23

‘คงกระพัน’ตั้งวอร์รูมดัน 5 กลยุทธ์ฝ่าสงครามเศรษฐกิจโลก-รับมือทรัมป์

05-23

เศรษฐกิจไทย 2568 ท้าทายสูง สัญญาณอ่อนแรง กระทบความเชื่อมั่น

05-23

‘พาณิชย์’ ขีดเส้นล้างบางตรวจนอมินี 4.6 หมื่นราย 77 จังหวัดให้จบ 3 เดือน

05-23

เงินดิจิทัล 10,000 บาท แจกอยู่ไหม รัฐบาลชะลอไม่มีกำหนด จากนี้ยังไงต่อ?

05-23

“ออมสิน”ใจถึง แบงก์แรก ลดดอก 3% ช่วยธุรกิจรับมือภาษีทรัมป์

05-23

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap