2025-02-21 IDOPRESS
พาณิชย์ ไฟเขียว 1,893 ล้าน ออกมาตรการอุ้มข้าวนาปรัง มั่นใจดึงข้าวเปลือกสดขึ้นเกิน 8 พัน ชาวนาพอใจ เล็งชง นบข สัปดาห์หน้า เริ่มมาตรการ มี.ค.
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด ได้พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกนาปรังตกต่ำ ทั้งสิ้น 3 มาตรการ วงเงิน 1,893 ล้านบาท รองรับข้าวเปลือก 3.8 ล้านตัน ซึ่งจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) อนุมัติสัปดาห์หน้า และเข้าครม.ต่อไป เพื่อให้รองรับข้าวนาปรังที่จะออกมามากช่วงต้นเดือน มี.ค.
สำหรับ 3 มาตรการ ได้แก่ 1.สินเชื่อชะลอการขายข้าวนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาทต่อตัน สำหรับเกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉางของตัวเอง แต่หากไปฝากเก็บที่สหกรณ์ ชาวนาจะได้ 1,000 บาท และสหกรณ์ได้ 500 บาทต่อตัน ต้องเก็บข้าวไว้ 1-5 เดือน เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน 2.ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการ 6% เข้ามาช่วยรับซื้อข้าวสูงกว่าตลาด 200 บาทต่อตัน เป้าหมาย 2 ล้านตัน และ 3.เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาทต่อตัน และผู้ประกอบการต้องรับซื้อข้าวสูงกว่าตลาด 300 บาทต่อตัน เป้าหมาย 3 แสนตัน
นอกจากนี้ จะร่วมมือกับห้างค้าปลีก โมเดิร์นเทรด ห้างท้องถิ่น จัดจุดจำหน่ายราคาไม่เกิน 100 บาท เพื่อกระตุ้นการบริโภค เป้าหมาย 5 แสนตัน และมาตรการส่งเสริมการส่งออกข้าวไทย โดยร่วมมือกับเอ็กซิมแบงก์ จัดสินเชื่อพิเศษให้ผู้ส่งออกข้าวในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ตลอดจนเร่งรัดจีนให้ซื้อข้าวจีทูจี 2.8 แสนตัน
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า มั่นใจว่าจากมาตรการนี้จะทำให้ราคาข้าวเปลือกสดไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท โดยหากตอนนี้ ราคาข้าวเกี่ยวสดได้ 7,000 บาท ก็จะได้เงินเพิ่มจากมาตการชะลอฝากขาย 1,000-1,500 บาท ก็จะได้เงิน 8,000-8,500 บาท ซึ่งเป็นไปตามที่ชาวนาต้องการ ส่วนการเปิดจุดรับซื้อ หากขายไม่ได้ 8,000 บาท เกษตรกรก็ไม่ต้องขาย
นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า มีความพอใจในมาตรการระดับหนึ่ง ซึ่งหากรัฐบาลสามารถผลักดันราคาข้าวสดได้ถึงตันละ 8,500 บาทได้จริง ก็ถือเป็นราคาที่เกษตรกรพออยู่ เนื่องจากปัจจุบันชาวนามีต้นทุน 5,500-6,000 บาท หากขายได้ตันละ 8,500 บาทก็พอใจ ต่ก็อยากให้รัฐบาลช่วยดูเรื่องปัจจัยการผลิตอื่นเพิ่มเติม ทั้งการจัดหาแหล่งน้ำ เมล็ดพันธุ์ข้าว รวมถึงช่วยค่ายาปราบศัตรูพืช ค่าปุ๋ย เพื่อช่วยลดต้นทุนชาวนา
02-21
02-21
02-21
02-21
02-21
02-21
02-21
02-21
02-21
02-21