จ๊าก! 24 ล้านคน เสี่ยงจนทุกด้าน หว่านนโยบายทั่วไทยแก้ไม่ได้

2025-02-28 HaiPress

คนไทยอีกกว่า 24 ล้านคน เสี่ยงต่อการเป็นคนจนหลายมิติ คิดเป็นสัดส่วน 34.7% ของประชากรทั้งหมด โดยมีความขัดสนในด้านการมีบำเหน็จ หรือบำนาญมากที่สุด

น.ส.วรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้จัดทำบทความเรื่องการบรรลุเป้าหมายเอสดีจี ในการยุติความยากจนหลายมิติ โดยสศช.ได้พัฒนาดัชนีความยากจนหลายมิติของประเทศไทย (เอ็มพีไอ) เพื่อนำมาใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการยุติความยากจนทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการลดสัดส่วนจำนวนผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติหรือทุกด้าน ให้ลดลงให้ได้อย่างน้อย 50% ในปี 73

ทั้งนี้ในปี 66 ไทยบรรลุเป้าหมายในการลดสัดส่วนคนจนหลายมิติแล้ว โดยมีคนจนหลายมิติจำนวน 6.13 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 8.76% จากประชากรทั้งหมด ลดลงจากปี 58 ที่มีสัดส่วนคนจนหลายมิติ 20.08% ซึ่งสัดส่วนคนจนหลายมิติในทุกช่วงวัยลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล เช่นโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีผู้ได้รับสวัสดิการประมาณ 14 ล้านคน นอกจากนี้หากพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดซึ่งมีการพัฒนาดีขึ้นมากในด้านการใช้อินเทอร์เน็ต การเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาด การกำจัดขยะที่เหมาะสม การเข้าถึงการศึกษา และการมีบำเหน็จบำนาญ

อย่างไรก็ตามสถานการณ์ความยากจนหลายมิติของไทยยังมีประเด็นท้าทายหลายด้าน แม้ว่าคนจนหลายมิติจะลดลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังมีคนจนอยู่อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะคนจนอีกกว่า 18.8% ที่กำลังประสบปัญหาทั้งคุณภาพชีวิตและการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อน อาจหลุดพ้นความยากจนได้ยาก และคนไทยอีกกว่า 24 ล้านคน เสี่ยงต่อการเป็นคนจนหลายมิติ หรือคิดเป็นสัดส่วน 34.7% ของประชากรทั้งหมด โดยมีความขัดสนในด้านการมีบำเหน็จ หรือบำนาญมากที่สุด

ทั้งนี้การแก้ปัญหาความยากจนหลายมิติต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางการเงินซึ่งยังมีข้อจำกัดหลายประการแม้ว่าจะมีบำเหน็จบำนาญรองรับยามเกษียณมากกว่าในอดีตแต่สัดส่วนคนจนหลายมิติที่ไม่มีบำเหน็จบำนาญอยู่ในอันดับสูงอีกทั้ง ข้อจำกัดการดึงแรงงานนอกระบบให้เข้าสู่ระบบรวมถึงการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่อาจทำให้มีเสี่ยงต่อการไม่มีหลักประกันยามเกษียณ รวมถึงการใช้นโยบายที่เหมือนกันในทุกพื้นที่อาจไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนหลายมิติได้อย่างตรงจุดเนื่องจากปัญหามีความเชื่อมโยงกันไม่สามารถแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพียงอย่างเดียว

ด้านนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาฯสศช. แถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 ปี 67 และภาพรวมว่า ภาพรวมเรื่องของการจ้างงานต้องจับตาเรื่องการกีดกันทางการค้าในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษีจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกและการจ้างงาน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก อีกทั้งไทยยังมีประเด็นด้านการจัดการการค้ามนุษย์ ที่ได้รับการจัดอันดับรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาให้อยู่ในระดับเทียร์ 2 มาตั้งแต่ปี 65 รวมทั้งต้องตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างชาติเพื่อป้องกันการทำงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีมาตรการนำเข้าและต่ออายุแรงงานต่างด้าวตามเอ็มโอยูแต่ยังพบการกระทำผิดของสถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก.

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 เฟส 4 เฟส 5 เช็กเงื่อนไข ใครได้บ้าง

04-08

ไทยแย้มกลยุทธ์รับมือทรัมป์ เล็งนำเข้าสินค้าเกษตรสหรัฐ เปิดสินเชื่อเอกชน 3 พันล้านบาท เยียวยาเอกชน

04-08

สรุป Timeline มาตรการทรัมป์ป่วนโลก นับตั้งแต่รับตำแหน่ง 20 ม.ค. ออกมาตรการอะไรแล้วบ้าง

04-08

หวั่นสงครามการค้าเดือดจัด แมงเม่าเทขายหุ้นทันที 46.85 จุด

04-08

เงินบาทอ่อนค่า 34.71 บาท ทำสถิติในรอบกว่า 2 เดือนครึ่ง กังวลสหรัฐขึ้นภาษี

04-08

เฝ้าระวัง! เปิดรายละเอียด 49 ลิสต์สินค้าไทย เสี่ยงถูกสวมสิทธิส่งออกไปสหรัฐ

04-08

“ดีอี” ชงครม. แก้พ.ร.ก.ไซเบอร์ แก้ปัญหามิจฉาชีพตุ๋นเงิน ปชช.

04-08

ราคาทองวันนี้ 8 เม.ย.68 ลดลง 550 บาท

04-08

กองทุนหมู่บ้านฯ เตรียมของบกลางเพิ่ม 3 พันล้านบาท จ่อคิกออฟโครงการเอสเอ็มแอล 21 เม.ย. นี้

04-08

จับตาโลกป่วน! สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้า กระทบรุนแรงแค่ไหน ทางรอดคืออะไร

04-08

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap