ส่งออกทอง 2 เดือน ทะลุ 7.1 หมื่นล้าน คนแห่เก็งกำไร ราคาทุบสถิติ อัญมณีเฮ ขายพุ่ง 104%

2025-04-11 HaiPress

ส่งออกทองคำ 2 เดือน ทะลุ 7.1 หมื่นล้าน คนแห่เก็งกำไร ราคาพุ่งทุบสถิติ ส่วนอัญมณีและเครื่องประดับ ก.พ.68 พุ่ง 104.23% บวก 4 เดือนติด แห่นำเข้าหนีภาษีทรัมป์

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที เปิดเผยว่า สถิติการส่งออกทองคำเดือน ก.พ.68 มีมูลค่า 933 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.39% จากการส่งออกไปเก็งกำไร เพราะมีปัจจัยหนุนจากแรงซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีของสหรัฐ ทำให้ราคาทองคำทำสถิติสูงสุดที่ 2,937 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ส่วนยอดรวมส่งออกทองคำ 2 เดือน มีมูลค่า 2,101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 73.74% หรือคิดเป็น 7.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่เดือน ม.ค.68 มูลค่า 1,167 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 148.95%

สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือน ก.พ.68 มูลค่า 2,297.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 104.23% ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำ มูลค่า 4,032.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 121.29% และการส่งออกรวม 2 เดือนของปี 68 (ม.ค.-ก.พ.) ไม่รวมทองคำ มูลค่า 3,231.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 73.22% รวมทองคำ มูลค่า 6,133.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 102.32%

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกสำคัญสหรัฐ มาแรงสุด เพิ่ม 31.61% จากการเร่งนำเข้าเพื่อลดความเสี่ยงจากมาตรการภาษี เพราะในเดือนนี้ ยังไม่รู้ว่าจะสหรัฐจะประกาศขึ้นภาษีกับไทยในอัตราเท่าใด เยอรมนี เพิ่ม 8.56% อิตาลี เพิ่ม 4.37% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 13.80% ญี่ปุ่น เพิ่ม 4.37% ส่วนฮ่องกง ลด 8.09% เบลเยียม ลด 21.24% กาตาร์ ลด 46.92% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลด 29.99%

ส่วนแนวโน้มการส่งออกเดือน มี.ค.68 ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ ที่จะมีการเร่งนำเข้า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องภาษี แต่ผลจากการที่สหรัฐ ได้เริ่มเก็บภาษีนำเข้า 10% แล้ว คงต้องจับตาดูว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ในเดือน เม.ย.68 หรือไม่ เพราะเดิมอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยต่ำมากแค่ 0-6.5% เท่านั้น โดยการชะลอขึ้นภาษีไป 90 วัน ทำให้ส่งออกหายใจได้คล่องขึ้น และต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไปว่าจะสามารถเจรจาปรับลดอัตราภาษีได้หรือไม่ 

สำหรับข้อเสนอแนะให้จับตาพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยปัจจุบันหลายแบรนด์ได้ออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับเพื่อเสริมบุคลิกและความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น ด้วยการใช้ 12 บุคลิกทางธุรกิจ เพื่อเสริมความมีบุคลิกที่ชัดเจนของแบรนด์ อันเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผ่านโลโก้ การสื่อสาร โฆษณา การบริการลูกค้า และการออกแบบสินค้า ทำให้สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้ง เป็นที่จดจำ เสริมสร้างความโดดเด่นให้แบรนด์ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้ได้

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

“กฟผ.-ภูฏาน” ต่อยอดความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด

07-01

ข่าวดี! กบง. ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม 423 บาท/ถัง 15 กก. ถึงสิ้น ก.ย. 68

07-01

ราคาทองวันนี้ 28 มิ.ย. ร่วงอีก 200 บาท

07-01

“ประสิทธิ์”ผู้บริหาร CPF คว้ารางวัล “Asia’s Best CEO”

07-01

พาณิชย์ ชี้ 3 ปัจจัยกดดันข้าวไทย ส่งออก 5 เดือนแรกสาหัส ติดลบ 25%

07-01

ปลัดฯท่องเที่ยว ยันพื้นที่ภูเก็ตปลอดภัยหลังตำรวจเคลียร์พื้นที่ทุกจุดเรียบร้อย

07-01

รมว.อุตสาหกรรม ลุยฉะเชิงเทรา ฟันกากอุตฯกว่า 4.7 หมื่นตันซุกใต้ดิน

07-01

‘ฟาร์มเฮ้าส์‘ กางแผน 5 ปี รายได้แตะ 1 หมื่นล้านบาท

07-01

Jabs ส่งสินค้าใหม่บุกตลาดความงามครบวงจร

07-01

รมว.คลัง แจงแนวทางจ้าง Lobbyist ถกภาษีทรัมป์ แพงแต่จำเป็น ย้ำโปร่งใสแน่

07-01

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap