ค่าเงินบาทผันผวน พลิกแข็งค่าตามราคาทองคำโลก หวั่นสงครามการค้าสหรัฐ

2025-04-14 IDOPRESS

สรุปค่าเงินบาทผันผวน พลิกแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์ แตะ 33.54 บาทต่อดอลลาร์ ตามราคาทองคำตลาดโลกที่พุ่งขึ้น จับตาสงครามการค้าสหรัฐ

วันที่ 12 เม.ย. น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทแกว่งตัวผันผวน พลิกแข็งค่าหลุดแนว 34.00 แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์ที่ 33.54 บาทต่อดอลลาร์ ตามราคาทองคำตลาดโลกที่พุ่งขึ้น

เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 เดือนครึ่งที่ 34.98 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางอ่อนค่าของสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย นำโดย เงินหยวน หลังภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ของสหรัฐ เริ่มมีผลบังคับใช้

อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับอานิสงส์จากราคาทองคำในตลาดโลกที่กลับขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ ประกอบกับเงินดอลลาร์ เผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจาก ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ประกาศชะลอการเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ หรือ Reciprocal Tariffs ให้กับหลายประเทศ ยกเว้นจีน เป็นเวลา 90 วัน (แต่ยังเก็บอัตราภาษีพื้นฐาน 10% อยู่)

เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในช่วงท้ายสัปดาห์ โดยแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์ที่ 33.54 บาทต่อดอลลาร์ หลังเงินดอลลาร์ มีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ ที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด และความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่ยกระดับความตึงเครียดขึ้นตามอัตราภาษี Reciprocal Tarriff ที่ปรับขึ้นเพื่อตอบโต้กัน

ในวันศุกร์ที่ 11 เม.ย. 2568 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 33.55 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 34.20 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 เม.ย.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 8-11 เม.ย. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,248 ล้านบาท แต่มีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 5,529 ล้านบาท (แบ่งเป็น ซื้อสุทธิพันธบัตร 6,069 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 540 ล้านบาท)

สัปดาห์ระหว่างวันที่ 16-18 เม.ย. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.50-34.20 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทิศทางค่าเงินหยวนและราคาทองคำในตลาดโลก สัญญาณฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงผลการประชุม ECB และธนาคารกลางเกาหลีใต้

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภค ดัชนีราคานำเข้า/ส่งออก ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือน มี.ค. ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือน เม.ย. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามข้อมูลจีดีพีไตรมาส 1/2568 และตัวเลขเศรษฐกิจเดือน มี.ค. ของจีน รวมถึงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ของอังกฤษ ยูโรโซนและญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ราคาทองวันนี้ 12 ก.ค. ปรับขึ้น 100 บาท

07-14

PDPC บุกนครปฐม ดึงผู้นำชุมชนร่วมสกัดภัยไซเบอร์

07-14

ออมสิน โชว์ผลสำเร็จธนาคารเพื่อสังคม ช่วยคนไทย 13 ล้านคน ทำกำไรนำส่งรัฐ 9.6 หมื่นล้าน

07-14

‘คานิว่า’ ดึง 12 หนุ่มวง บัส ช่วยขายอาหารสุนัข แมว

07-14

‘ธปท.-กกร.’ หารือร่วมลดผลกระทบภาษีทรัมป์ 36% หาแนวทางระยะสั้น-ยาว

07-14

ดัชนีวันนี้ปิดบวก 10.73 จุด การหารือการค้าสหรัฐคืบหน้า

07-14

หอการค้าเมนต์ข้อเสนอใหม่ไทยส่งตรงสหรัฐ ชี้คำนึงประโยชน์ปท. เอสเอ็มอีวอนรัฐเจรจาด่วน

07-14

เนื้อหมูไทยส่อวิกฤติ ข้อต่อรองภาษีทรัมป์ กระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูนับแสนราย

07-14

ททท. เปิดลงทะเบียน “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” สำหรับประชาชน ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2568

07-14

โค้งสุดท้าย ส่องผลงาน 2 ผู้ท้าชิงเก้าอี้ผู้ว่า ธปท.ใครจะเข้าวิน

07-14

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap