เปิดปัจจัยสำคัญ ‘ค่าเงินบาท’ สัปดาห์หน้า หลังแข็งค่าสุดในรอบกว่า 7 เดือน

2025-05-12 HaiPress

เปิดปัจจัยสำคัญ ค่าเงินบาท ในสัปดาห์หน้า หลังจากทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 7 เดือน แตะระดับ 32.56 บาทต่อดอลลาร์ คาดกรอบต่อไป 32.60-33.60 บาทต่อดอลลาร์

🔊 ฟังข่าว

⏸️ หยุดชั่วคราว

🔄 เริ่มใหม่

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าผ่านแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 7 เดือนที่ 32.56 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก สถานะของเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตรไทย และแรงหนุนต่อค่าเงินเอเชียในภาพรวมตามการคาดหวังว่า การเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ น่าจะมีสัญญาณเชิงบวกในช่วงข้างหน้า

อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยล้างช่วงบวกและอ่อนค่ากลับมาตามทิศทางของสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย และเงินหยวนที่มีปัจจัยลบจากการที่ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยและ RRR ลงเพื่อประคองทิศทางเศรษฐกิจจีนที่เผชิญความเสี่ยงจากสงครามการค้า ขณะที่ เงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้น หลังการประชุมเฟดซึ่งมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ไว้ที่กรอบเดิม 4.25-4.50% ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากการสรุปดีลการค้าเบื้องต้นระหว่างสหรัฐและอังกฤษ และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ออกมาดีกว่าที่คาด

ในวันศุกร์ที่ 9 พ.ค. 2568 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 33.01 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 33.06 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (2 พ.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 6-9 พ.ค. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 917 ล้านบาท และมีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 10,582 ล้านบาท (แบ่งเป็น ซื้อสุทธิพันธบัตร 11,082 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 500 ล้านบาท)

สัปดาห์ระหว่างวันที่ 12-16 พ.ค. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 32.60-33.60 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ราคาทองคำในตลาดโลก ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือน เม.ย. ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. ตลอดจนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2568 ของยูโรโซน อังกฤษและญี่ปุ่นเช่นกัน

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ดัชนีหุ้นวันนี้ปิดบวก 5.68 จุด รับไทยเจรจาการค้าสหรัฐ

07-04

‘พิชัย’ อำลาเก้าอี้รมว.พาณิชย์-โชว์ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลสำเร็จ 15 ผลงาน

07-04

‘ธ.กรุงเทพ-เพอร์มาตา’ผลึกพลัง ชูอินโดฯ หนุนธุรกิจไทยคว้าโอกาส

07-04

วิกฤติต้มยำกุ้ง ครบรอบ 28 ปี เปิด 3 เรื่องโจทย์เศรษฐกิจปี 2568

07-04

เตือนภัย! เว็บไซต์ปลอม อย่าเชื่อ…อย่าแชร์

07-04

‘เฉลิม อยู่วิทยา’ และครอบครัว แชมป์! มหาเศรษฐีไทย รวยสุดปีที่ 2

07-04

‘สยามพิวรรธน์-Huawei’ ผนึกกำลังพันธมิตร ดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาไทย

07-04

‘กูลิโกะ’ ประกาศเลิกขายไอศกรีมในไทย หาซื้อได้แค่สิ้นปี 68 นี้

07-04

เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้ 32.30 บาท เกาะติดปัจจัยสำคัญในต่างประเทศ

07-04

“Whoscall” เปิดฟีเจอร์ “SOS ขอความช่วยเหลือ”

07-04

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap