มูดี้ส์ฯ หั่นเครดิตสหรัฐ แนะนักลงทุนจับจังหวะขายทำกำไร ระวังแรงผันผวน

2025-05-21 IDOPRESS

Moody’s ปิดฉากสถานะ “เครดิตสมบูรณ์แบบ” ของสหรัฐ จากระดับสูงสุด Aaa ลงสู่ Aa1 ส่งผลตลาดหุ้นโลกเจอแรงกดดันเพิ่มขึ้น แนะนักลงทุนจับจังหวะ “ขายทำกำไร” พร้อมระวังแรงผันผวนระยะสั้น

นายธนธัช ศรีสวัสดิ์ นักกลยุทธ์ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เปิดเผยว่า กรณีที่ Moody’s ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ จาก Aaa ลงสู่ Aa1 ต่อจาก S&P Global Ratings และ Fitch Ratings ที่ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐไปก่อนหน้านี้ในปี 2554 และ 2566 ตามลำดับ นับเป็นการปิดฉากสถานะ “เครดิตสมบูรณ์แบบ” ของสหรัฐ โดยสมบูรณ์

ทั้งนี้ TISCO ESU ประเมินการปรับลดอันดับเครดิตครั้งนี้ แม้ผลกระทบเชิงฉับพลันต่อตลาดเงินจะมีแนวโน้มจำกัด เนื่องจากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยและเงื่อนไขการเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันสัญญาการเงินอื่นของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ถูกปรับให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากปี 2554 และไม่ได้อิงกับอันดับ Aaa อย่างเข้มงวดเหมือนในอดีต แต่การลดอันดับเครดิตครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันต่อตลาด โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณางบประมาณสำคัญของทรัมป์อย่าง “Big,Beautiful Bill” ขณะที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว

ดังนั้น จึงอาจเป็นจังหวะให้นักลงทุนพิจารณาขายทำกำไรหุ้น หลังตลาดตอบรับปัจจัยบวกไปพอสมควรแล้ว ประกอบกับมูลค่าหุ้น (Valuation) ที่ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับค่อนข้างแพง ซึ่งจะกลายเป็นอีกปัจจัยกดดันให้ตลาดหุ้นปรับฐานในระยะข้างหน้า

“การปรับลดเครดิตอาจถูกมองว่าเป็นตัวชี้วัดพร้อมกัน หรือ “Coincident Indicator” ของเศรษฐกิจอีกเครื่องมือหนึ่ง เนื่องจากมักเกิดขึ้นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ทำให้แม้ผลกระทบฉับพลันอย่างการถูกบังคับขายพันธบัตร และกระบวนการ Delevarage จะไม่ได้เกิดขึ้น ทว่าตลาดหุ้น S&P 500 ก็ปรับเข้าสู่การชะลอตัวในช่วงท้ายปี 2554 และ 2566 โดยเคลื่อนไหวในกรอบ Sideway ต่ำ อยู่ในระดับลบ 1% ถึงลบ 5% จากวันที่ถูกปรับลดอันดับเครดิตไปอีกประมาณ 2 เดือน ดังนั้น นักลงทุนควรระมัดระวังความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นได้”

ขณะที่ด้านตลาดพันธบัตร แม้จะเห็นผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ปรับสูงขึ้นบ้างหลังข่าวนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพันธบัตรสหรัฐ ยังเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่ตลาดให้ความเชื่อมั่น โดย TISCO ESU ประเมินว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) อายุ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาสู่ระดับ 4.5% ตามที่เคยประเมินไว้ จะเผชิญกับแรงกดดันด้านสูงเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยนี้ก็สะท้อนความเสี่ยงล่วงหน้า (Priced-in) ไปแล้วบางส่วน จากที่ Moody’s ได้ปรับลดมุมมองเป็น Negative ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2567 ดังนั้น การปรับลดเครดิตลงในครั้งนี้จึงไม่น่าเป็นกังวลมากนัก

อย่างไรก็ตาม การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากแผนลดภาษีฉบับใหม่ของคณะกรรมการที่ดูแลเรื่องรายรับภาครัฐ (The House Ways & Means Committee) ได้เสนอแผนการลดการจัดเก็บภาษี ทั้งภาคครัวเรือนและธุรกิจ อาทิ การต่ออายุมาตรการลดภาษีบุคคลธรรมดา การเพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีของครัวเรือน การยกเลิกจัดเก็บภาษีทิปและค่าทำงานล่วงเวลา (Tips & Overtime) และการเพิ่มค่าโบนัสค่าเสื่อมของธุรกิจเพื่อใช้เป็นรายจ่ายลดหย่อนเมื่อคำนวณภาษีนิติบุคคล เป็นต้น ซึ่งประเมินว่าจะส่งผลให้สหรัฐขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นราว 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2568–2577 ส่งผลให้สหรัฐมีแนวโน้มขาดดุลการคลังที่ระดับราว 6% ของ GDP ต่อปี ในระยะข้างหน้า

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

“กฟผ.-ภูฏาน” ต่อยอดความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด

07-01

ข่าวดี! กบง. ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม 423 บาท/ถัง 15 กก. ถึงสิ้น ก.ย. 68

07-01

ราคาทองวันนี้ 28 มิ.ย. ร่วงอีก 200 บาท

07-01

“ประสิทธิ์”ผู้บริหาร CPF คว้ารางวัล “Asia’s Best CEO”

07-01

พาณิชย์ ชี้ 3 ปัจจัยกดดันข้าวไทย ส่งออก 5 เดือนแรกสาหัส ติดลบ 25%

07-01

ปลัดฯท่องเที่ยว ยันพื้นที่ภูเก็ตปลอดภัยหลังตำรวจเคลียร์พื้นที่ทุกจุดเรียบร้อย

07-01

รมว.อุตสาหกรรม ลุยฉะเชิงเทรา ฟันกากอุตฯกว่า 4.7 หมื่นตันซุกใต้ดิน

07-01

‘ฟาร์มเฮ้าส์‘ กางแผน 5 ปี รายได้แตะ 1 หมื่นล้านบาท

07-01

Jabs ส่งสินค้าใหม่บุกตลาดความงามครบวงจร

07-01

รมว.คลัง แจงแนวทางจ้าง Lobbyist ถกภาษีทรัมป์ แพงแต่จำเป็น ย้ำโปร่งใสแน่

07-01

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap