แบ่งเค้กไม่ลงตัว เคาะไม่จบงบกระตุ้น 1.57 แสนล้าน สั่งห้ามใช้วิธีพิเศษ-ตัดทิ้งต่ำกว่า 5 แสน

2025-06-11 IDOPRESS

แบ่งเค้กไม่ลงตัว พิชัย เคาะไม่จบงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้าน หลังหน่วยงานยังแห่รุมทึ้งเกิน 4 แสนล้าน สั่งเพิ่มเกณฑ์ตัดทิ้งโครงการเล็กต่ำ 5 แสน ป้องกันไม่ให้ใช้วิธีพิเศษ ทำเงินรั่วไหล นายกฯ สั่งดูเข้ม

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.57 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 68 ยังไม่ได้ข้อสรุปโครงการที่ขอใช้เงิน เนื่องจากรัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะเป็นวงเงินขนาดใหญ่ จึงต้องการให้นำเงินลงไปกระตุ้นได้อย่างแท้จริง ฉะนั้น ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่เดิมจะกำหนดในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ จึงต้องเลื่อนออกไปก่อน

“รัฐบาลไม่รีบร้อน เงินต้องใช้ให้เข้าเงื่อนไขตามกรอบที่กำหนด หากเสนอมาไม่ตามเงื่อนไขก็ต้องกลับไปทบทวน”

ด้านนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวว่า การประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองคาดว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากล่าสุดยังมีคำขอโครงการเข้ามามากกว่า 10,000 โครงการ มูลค่าสูงเกิน 400,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ จะมีการกำหนดรายละเอียดกรอบการใช้งบประมาณ 1.57 แสนล้านบาทให้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะวิธีการจัดซื้อจัดจ้างต้องห้ามใช้วิธีพิเศษ และให้ผ่านการประมูล หรือจัดจ้างตามขั้นตอนปกติ ดังนั้น โครงการที่ยื่นขอมาที่วงเงินต่ำกว่า 500,000 บาท จะถูกตัดออกไปก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดเงินเกิดการรั่วไหล เหมือนที่หลายฝ่ายกังวล

นอกจากนี้ รูปแบบโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีหลักการและเหตุผล อาทิ โครงการน้ำจะต้องทำในพื้นที่ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมหรือภัยแล้งมาแล้ว ไม่ใช่ขอไปใช้ในพื้นที่ใดก็ได้ ส่วนโครงการถนนต้องเป็นโครงการที่เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันโลจิสติกส์ของประเทศ เป็นต้น

“ยืนยันงบกระตุ้น 1.57 แสนล้านบาท ไม่จำเป็นต้องใช้เป็นงบลงทุนทั้งหมดก็ได้ สุดท้ายหากจัดสรรโครงการไม่ครบ ก็จะมีกลไกนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อยู่ สอดคล้องกับข้อสั่งการในที่ประชุม ครม. ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ขอให้พิจารณาใช้งบ 3 ส่วน ได้แก่ งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้าน งบประมาณประจำปี 69 และงบประมาณกลางอย่างรัดกุม ระมัดระวัง ไม่ให้มีการเอื้อประโยชน์ ตามมาตรา 144”

นายจุลพันธ์ กล่าวยืนยันว่า การพิจารณาโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่ล่าช้าและมีเวลาพิจารณาอยู่ เนื่องจากมีการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่แท้จริง คาดว่าจะเริ่มช่วงไตรมาสที่ 3 หลังมาตรการภาษีของสหรัฐ มีความชัดเจนและคลี่คลายมากขึ้น  แต่ตอนนี้มีข่าวดีแล้วว่าสหรัฐได้ตอบรับที่จะเจรจากับไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งถ้าผลเป็นไปได้ด้วยดี ผลกระทบทางเศรษฐกิจก็จะเบาบางลง อย่างไรก็ตามก็ยังมีผลกระทบอยู่ เพราะคาดว่าสหรัฐ จะยังคงขึ้นภาษีศุลกากรพื้นฐานกับทุกประเทศ 10% ซึ่งสำหรับประเทศไทย หากถูกเก็บเท่ากับคู่แข่งก็ยังสามารถแข่งขันได้

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

“กฟผ.-ภูฏาน” ต่อยอดความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด

07-01

ข่าวดี! กบง. ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม 423 บาท/ถัง 15 กก. ถึงสิ้น ก.ย. 68

07-01

ราคาทองวันนี้ 28 มิ.ย. ร่วงอีก 200 บาท

07-01

“ประสิทธิ์”ผู้บริหาร CPF คว้ารางวัล “Asia’s Best CEO”

07-01

พาณิชย์ ชี้ 3 ปัจจัยกดดันข้าวไทย ส่งออก 5 เดือนแรกสาหัส ติดลบ 25%

07-01

ปลัดฯท่องเที่ยว ยันพื้นที่ภูเก็ตปลอดภัยหลังตำรวจเคลียร์พื้นที่ทุกจุดเรียบร้อย

07-01

รมว.อุตสาหกรรม ลุยฉะเชิงเทรา ฟันกากอุตฯกว่า 4.7 หมื่นตันซุกใต้ดิน

07-01

‘ฟาร์มเฮ้าส์‘ กางแผน 5 ปี รายได้แตะ 1 หมื่นล้านบาท

07-01

Jabs ส่งสินค้าใหม่บุกตลาดความงามครบวงจร

07-01

รมว.คลัง แจงแนวทางจ้าง Lobbyist ถกภาษีทรัมป์ แพงแต่จำเป็น ย้ำโปร่งใสแน่

07-01

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap