ธ.ก.ส.ผนึกตำรวจไซเบอร์ ทำระบบ LINE เตือนภัยเกษตรกร 14 ล้านราย ป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์

2025-06-13 HaiPress

ธ.ก.ส. ผนึกตำรวจไซเบอร์ ทำระบบแจ้งเตือนภัยเกษตรกร ลูกค้า 14 ล้านราย ป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ชี้พุ่งเป้าหลอกลวง ชาวนา ผู้สูงวัย ใช้มุกแจกเงินรัฐหลอกล่อ ด้านตำรวจเดินหน้าถกแบงก์ชาติ เร่งบังคับใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ รับผิดชอบหากโดนดูดเงิน

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เปิดระบบแจ้งเตือนภัยมิจฉาชีพ ผ่านฟีเจอร์ใหม่บนไลน์ ออฟฟิเชียล BAAC Family เพื่อเตือนภัยพี่น้อง เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ธุรกิจการเกษตร และปศุสัตว์ที่เป็นสมาชิกกว่า 14 ล้านราย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังพบว่าปัจจุบันเกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพเกิดความเสียหายจำนวนมาก

ทั้งนี้ ระบบเตือนภัยดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนได้เข้าถึงเครื่องมือในการเช็ก แจ้ง เตือนภัยมิจฉาชีพได้ทุกเวลา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ บัญชีม้าหรือบัญชีปลอมต้องสงสัย เว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยและอันตราย รวมไปถึงการแจ้งเบาะแสอาชญากรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเรียลไทม์ ครบจบในแชตเดียว

ด้าน พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กล่าวว่า ขณะนี้ภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นมาก โดยมีความเสียหายมากถึงปีละ 30,000 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มพี่น้องเกษตรกรหรือผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงในการถูกหลอกผ่านเอสเอ็มเอส หรือ ไลน์ ที่แอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น เงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนมิจฉาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงอย่างรวดเร็ว เข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ ทั้งจากการโทรฯ หลอกลวง จึงได้เกิดความร่วมมือครั้งนี้ขึ้น

สำหรับความเสียหายจากการโดนหลอกของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลังจากรัฐบาลมีการปราบปรามอย่างจริงจัง ทำให้ในช่วงต้นปียอดแจ้งความเสียหายลดลงจาก ปกติเฉลี่ยวันละ 1,200-1,300 คดี ลดเหลือ 800 คดี อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการปรับตัว โดยย้ายศูนย์บัญชาการจากติดชายแดนไทยไปชายแดนอีกประเทศหนึ่ง รวมถึงมีการลงทุนปรับโครงสร้างพื้นฐานหลอกลวงครั้งใหญ่ เช่น การใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านระบบดาวเทียมแทนเสาสัญญาณจากเมืองไทย และลงทุนระบบเทคโนโลยีมาหลอกลวง จากเดิมมีการจ้างคนไทยมาหลอกคนไทย แต่ต่อไปจะสร้างอัลกอริทึม และใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มาปลอมเสียง ปลอมภาพเป็นคนไทย เพื่อโน้มน้าวให้เหยื่อโอนเงินอย่างแนบเนียน

ส่วนความคืบหน้าการใช้ พ.ร.ก.ไซเบอร์ ให้ธนาคารและค่ายมือถือ ร่วมรับผิดชอบประชาชนถูกหลอกลวง ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย. นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะธุรกรรมที่ต้องสงสัย 21 รูปแบบ และจะเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกกฎหมายบังคับใช้โดยครอบคลุมทั้งธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์ สกุลเงินดิจิทัล ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องสร้างระบบป้องกันแอปดูดเงินให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะต้องมีส่วนรับผิดชอบความเสียหาย เป็นต้น

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

ราคาทองวันนี้ 12 ก.ค. ปรับขึ้น 100 บาท

07-14

PDPC บุกนครปฐม ดึงผู้นำชุมชนร่วมสกัดภัยไซเบอร์

07-14

ออมสิน โชว์ผลสำเร็จธนาคารเพื่อสังคม ช่วยคนไทย 13 ล้านคน ทำกำไรนำส่งรัฐ 9.6 หมื่นล้าน

07-14

‘คานิว่า’ ดึง 12 หนุ่มวง บัส ช่วยขายอาหารสุนัข แมว

07-14

‘ธปท.-กกร.’ หารือร่วมลดผลกระทบภาษีทรัมป์ 36% หาแนวทางระยะสั้น-ยาว

07-14

ดัชนีวันนี้ปิดบวก 10.73 จุด การหารือการค้าสหรัฐคืบหน้า

07-14

หอการค้าเมนต์ข้อเสนอใหม่ไทยส่งตรงสหรัฐ ชี้คำนึงประโยชน์ปท. เอสเอ็มอีวอนรัฐเจรจาด่วน

07-14

เนื้อหมูไทยส่อวิกฤติ ข้อต่อรองภาษีทรัมป์ กระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูนับแสนราย

07-14

ททท. เปิดลงทะเบียน “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” สำหรับประชาชน ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2568

07-14

โค้งสุดท้าย ส่องผลงาน 2 ผู้ท้าชิงเก้าอี้ผู้ว่า ธปท.ใครจะเข้าวิน

07-14

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap