เปรียบเทียบ ‘ช้อปลดหย่อนภาษี’ มาตรการในอดีตจนปัจจุบัน แตกต่างยังไง

2024-12-20 HaiPress

เปรียบเทียบ "มาตรการลดหย่อนภาษี" ในอดีต ช้อปช่วยชาติ ช้อปดีมีคืน มาจนถึง Easy E-Receipt ลดภาษีเท่าไหร่ ช่วยเศรษฐกิจไทยได้อย่างไรบ้าง

จากกรณีที่กระทรวงการคลัง เตรียมเสนอมาตรการช้อปลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt ให้กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้านั้น ล่าสุดได้มีการเปิดเผยข้อมูลเบื้องต้นแล้วว่า สามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการที่กำหนด โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้ไม่เกิน 50,000 บาท คาดเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมกราคม จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568

สำหรับมาตรการลดหย่อนภาษี ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลในหลายยุคหลายสมัยได้เคยทำมาตรการในลักษณะนี้ออกมาแล้ว โดยมาย้อนดูกันว่า มาตรการช้อปเพื่อลดหย่อนภาษี ที่ผ่านมามีอะไรบ้าง และสร้างผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างไร

ปี 2558 ช้อปช่วยชาติ ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 25-31 ธันวาคม 2558 รวม 7 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท เงินสะพัด 22,500 ล้านบาท คิดเป็น 0.16% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 1,500 ล้านบาทปี 2559 ช้อปช่วยชาติ ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 14-31 ธันวาคม 2559 รวม 18 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,500 ล้านบาท คิดเป็น 0.15% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 1,500 ล้านบาทปี 2560 ช้อปช่วยชาติ ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม 2560 รวม 23 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 ล้านบาท เงินสะพัด 22,500 ล้านบาท คิดเป็น 0.15% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 2,000 ล้านบาทปี 2561 ช้อปช่วยชาติ ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2561-15 มกราคม 2562 รวม 1 เดือน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท เงินสะพัด 12,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.07% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 1,600 ล้านบาทปี 2563 ช้อปดีมีคืนปี 2563 ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม-15 ธันวาคม 2563 รวม 2 เดือน 7 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท เงินสะพัด 111,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.71% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 14,000 ล้านบาทปี 2565 ช้อปดีมีคืน 2565 ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 1 เดือน 15 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท เงินสะพัด 50,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.29% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 7,000 ล้านบาทปี 2566 ช้อปดีมีคืน 2566 ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 1 เดือน 15 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 40,000 บาท เงินสะพัด 56,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.31% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 6,200 ล้านบาทปี 2567 อีซี่ อี-รีซีท (Easy E-Receipt) ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2567 รวม 1 เดือน 15 วัน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 50,000 บาท เงินสะพัด 70,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.18% ต่อจีดีพี รัฐสูญเสียรายได้ 10,000 ล้านบาท

ที่มา : บล.เอเซีย พลัส

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

‘พิชัย’ ปิดดีลเอฟทีเอ ‘ไทย-ภูฏาน’ เตรียมลงนามเม.ย.นี้สร้างแต้มต่อส่งออก

02-21

หุ้นไทยเช้านี้เปิดลบ 6.95 จุด จากเฟดไม่รีบลดดอกเบี้ย

02-21

ราคาทองวันนี้ 20 ก.พ.68 ร่วง 100 บาท

02-21

‘เจ้าสัว’ ชี้ ขนมขบเคี้ยวโต ตั้งธง 3 ปี รายได้ 2.2 พันล้านบ.

02-21

ค่าเงินบาท 20 ก.พ.แข็งค่า 33.68 บาท จับตามาตรการภาษีนำเข้าสหรัฐ

02-21

ค่าไฟหนังยาว!! ‘พีระพันธุ์’ ดึงกฤษฎีกาถก ยันข้อเสนอกกพ.ลด 17 สตางค์ ‘ทำไม่ได้’

02-21

SC เตรียมขายบ้านสุดหรูหลังละ 200 ล้านบาท

02-21

แวะปั๊มด่วน!! แก๊สโซฮอล์-เบนซินขึ้นราคา 30 สต. ดีเซลคงเดิม มีผลพรุ่งนี้

02-21

ดัชนีวันนี้ปิดลบ 16.66 จุด กังวล “ทรัมป์” ขึ้นภาษีรถยนต์

02-21

BBL คาดเศรษฐกิจไทยปี 68 จีดีพี 3% รับแรงหนุนการส่งออก-ท่องเที่ยว

02-21