พาณิชย์ เผย 3 มาตรการ ดูแลส่งออก-นำเข้า ย้ำปฏิบัติภายใต้กฎการค้าเสรี

2025-04-07 HaiPress

กระทรวงพาณิชย์ย้ำบทบาทกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศและหลักการค้าเสรี

นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการค้าของประเทศทั้งระบบเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมี พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเครื่องมือหลักทางกฎหมาย ในการกำหนดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non- Tariff Measures :NTMs) ซึ่งเป็นเสมือนเกราะป้องกันประเทศจากสินค้าที่ผิดกฎหมาย ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ชีวิต และสิ่งแวดล้อม โดยกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกระทรวงฯ กำหนดมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าทั้งเพื่อการอนุวัติการตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยต้องปฏิบัติตาม


และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมการนำเข้าเพื่อปกป้องผลประโยชน์สำคัญของประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งภารกิจดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่ WTO อนุญาตให้รัฐภาคีสามารถกระทำได้ภายใต้ข้อยกเว้นทั่วไปของ GATT โดยในทุกกรณีจะมีการพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมของมาตรการที่จะกำหนดโดยหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านและคำนึงถึงกฎกติกาสากลอย่างรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามาตรการที่ พณ. กำหนดขึ้นจะสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรี และไม่สร้างอุปสรรคต่อการค้า ระหว่างประเทศมากเกินความจำเป็น เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและการบริหารการค้าระหว่างประเทศตามหลักการค้าเสรี

ในปัจจุบัน พณ. มีการบังคับใช้มาตรการควบคุมการนำเข้าที่สำคัญ เช่น


1) การห้ามนำเข้าสินค้าตามข้อมติ UNSC ด้านการคว่ำบาตร และสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่น ขยะเทศบาล ขยะอิเล็กทรอนิกส์ บุหรี่ไฟฟ้า รถยนต์ที่ใช้แล้ว ภาชนะบรรจุอาหารที่มีสารตะกั่วหรือแคดเมียมเกินปริมาณที่กำหนด


2) การกำหนดให้สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อสังคมต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตก่อนการนำเข้า


3) การกำหนดให้การนำเข้าสินค้าบางชนิดต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัย/สุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures:SPS) เพื่อยืนยันความปลอดภัยของสินค้า

ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ ที่ พณ. กำหนดขึ้นดังกล่าวเป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ นอกจากมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าคว่ำบาตรที่จำเป็นต้องเจาะจงประเทศต้องห้ามตามที่มติ UNSC กำหนดแล้ว ในส่วนของมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าในกรณีอื่นทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้กับการนำเข้าสินค้าทุกกรณีอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงประเทศผู้ผลิตหรือประเทศต้นทางการขนส่งสินค้าแต่อย่างใด

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

อยากสมัครเป็น ผู้ว่าแบงก์ชาติ ทำงานในวังบางขุนพรหม ต้องมีสเปกอะไรบ้าง

05-09

“อีสท์ วอเตอร์” โชว์ผลประกอบการ Q1/68 พร้อมแจ้งเปลี่ยนกรรมการ เดินหน้าธุรกิจน้ำสู่ความยั่งยืน

05-09

หุ้นเช้านี้เปิดลบ 1.64 จุด คาดชะลอตัวสั้นๆ

05-09

‘พิชัย’ รับลูกนายกฯเดินหน้า 7 มาตรการ 25 แผนงาน-เร่งส่งออกผลไม้ 9.5 แสนตัน

05-09

เปิดหนี้ครัวเรือนไทยล่าสุด ยอดคนค้างจ่ายเป็นหนี้เสีย NPL 5.15 ล้านคน

05-09

ค่าเงินบาทอ่อนค่า 32.90 บาท ก่อนฟื้นตัวเล็กน้อย เกาะติดปัจจัยต่างประเทศ

05-09

เคาะแล้ว เปิดรับสมัคร ผู้ว่าการแบงก์ชาติคนใหม่ 13 พ.ค.นี้

05-09

GIT ดึงนักออกแบบทั่วโลก ร่วมออกแบบเครื่องประดับนานาชาติ ดันนำไปผลิตขายได้จริง

05-09

แมงเม่าเทขายทำกำไรฉุดดัชนีหุ้นลบ 13.68 จุด

05-09

EXIM BANK ประเดิมแบงก์แรก ลดดอกเบี้ยเงินกู้เหลือ 6.15% ต่ำสุดในระบบ

05-09

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap